วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การเขียนรายผลการศึกษาดูงานของนักศึกษา



สนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันค่ะ
รับใบประกาศ....ให้รู้ว่าหนูผ่านการศึกษาดูงานแล้วนะคะ
แนวทางการจัดทำรายงานผลการไปศึกษาดูงานของนักศึกษา / สถาบัน / องค์กร

ที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพและความเป็นเลิศทางวิชาการ

               1. ผู้ที่เป็นที่ปรึกษาโครงการควรกำหนดวัตถุประสงค์และผลที่จะได้อย่างชัดเจน โดยเขียนในรูปแบบของโครงการศึกษาดูงาน

               2. เนื่องจากการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ควรจะต้องแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของนักศึกษาที่แตกต่างไปจากการเรียนในระดับอื่น ๆ และเพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสฝึกฝนการทำรายงานที่มีบางส่วนคล้ายคลึงกับการทำภาคนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ ตลอดจนการวิพากษ์ วิเคราะห์ ถึงเหตุและผลการไปศึกษาดูงาน รวมไปถึงการได้มาซึ่งองค์ความรู้ที่จะต้องนำไปต่อยอดเพื่อสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ ว่าเป็นไปตามทฤษฎีที่ได้ศึกษาเรียนรู้หรือไม่ อะไรคือจุดต่าง แล้วการประยุกต์ใช้ของหน่วยงาน องค์กร องค์การ และผู้บริหารบุคคลเหล่านี้จะมีวิธีคิดที่แตกต่างกันอย่างไร ทำไมถึงคิดแบบนั้น แล้วแบบนั้นจะเป็นไปได้จริงหรือไม่ โดยสามารถเปลี่ยนจากนามธรรมไปสู่ รูปธรรมอย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะเป็นแบบอย่างในการศึกษาแล้วนำไปใช้ในอนาคตของตนเองเมื่อถึงเวลา ผู้เขียนจึงขอกำหนดแนวทางการจัดทำรายงานผลการไปศึกษาดูงานฯ ดังนี้

บทที่ 1 บทนำ
           เป็นเนื้อหาว่าด้วยเรื่องหรือหัวข้อที่จะไปศึกษาดูงานนั้น ๆ ว่ามีความสำคัญหรือความเป็นมาอย่างไร ยกตัวอย่าง เช่น ความสำคัญในเรื่องนั้น ๆ ที่มีต่อการบริหารการพัฒนา ธุรกิจ สังคม ชุมชน หรือ องค์กร ตลอดจนพฤติกรรมของบุคคล เช่น แรงจูงใจ ในการเขียนนั้น ยาก (ดร.วันทนีย์ จันทร์เอี่ยม, 2551) ควรเป็นการเขียนที่บ่งบอกถึงความสำคัญมาก ๆ มากถึงระดับซึ่งมีคนทำสำเร็จได้
ในช่วงสุดท้ายของบทนี้ ควรเป็นการกล่าวถึง กรณีของจุดที่เราไปดูงานมาว่า อย่างไรก็ตามยังมีตรงนี้แห่งที่มีแนวทางในการดำเนินงานที่น่าสนใจ หรือมีรูปแบบที่สามารถอยู่ได้โดยไม่เดือนร้อน หรือสามารถทำประโยชน์ได้มาก ส่งผลดีหลายประกอบที่เอื้อต่อการพัฒนาในด้านอื่น ๆ (อะไรบ้างก็ว่าไป...)

บทที่ 2 หลักการ แนวคิด
         ความคิดโดยทั่วไปว่าด้วยเรื่องนั้น ๆ ซึ่งอาจจะตั้งชื่อบทตามหัวข้อที่ไปดูงาน เช่น การบริหารจัดการองค์กร...... นวัตกรรมและการประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางธุรกิจเพื่อการพัฒนา ..... การพัฒนาภายใต้หลัก.....
เนื้อหาตรงนี้ได้ให้นักศึกษาตั้งธงไว้ก่อนไปดูงานแล้ว ว่าสิ่งที่ถูกต้องหรือตามหลักทฤษฎีนั้นควรเป็นอย่างไร หรือมีกรณีที่อื่น ๆ ทำทำไว้มีอย่างไร หรือแม้กระทั่งในส่วนของบริบทของสังคมไทยที่เคยผ่านมาส่งผลกระทบในเรื่องนั้น ๆ มีปรากฏมาอย่างไรแล้วบ้าง ให้นำมาไว้ในบทที่ 2 นี้ แต่อย่าเอามาตัดแปะต่อ ๆ กัน ควรเขียนในเชิงสังเคราะห์เอกสาร (มีอ้างอิงด้วย) ให้เป็นสำนวนการเขียนของตนเอง และควรแยกประเด็นให้ชัดเจนว่ามันมีองค์ประกอบที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง ถ้าเป็นไปได้อาจทำเป็นแผนผังทางความคิดทั้งหมดที่นำมาสรุปไว้เป็นส่วนสุดท้ายของบทนี้

บทที่ 3 กรณี.... (ระบุชื่อบุคคลหรือสถานที่ องค์กรที่เราไปดูงาน เช่นอาจตั้งชื่อบทนี้ว่า)
             ซึ่งอาจจะตั้งชื่อบทตามหัวข้อที่ไปดูงาน เช่น การบริหารจัดการองค์กร...... นวัตกรรมและการประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางธุรกิจเพื่อการพัฒนา ..... การพัฒนาภายใต้หลัก.....
เนื้อหาในบทนี้ ควรเป็นรายละเอียดในการเก็บข้อมูลทั้งเชิงทุติยภูมิ และปฐมภูมิ ในกรณีนั้น ๆ มาใส่ โดยแบ่งหัวข้อและประเด็นให้น่าอ่าน / น่าสนใจ มีรูปภาพประกอบ หรือแผนภูมิประกอบเนื้อหาแทรกได้ (ต้องดูให้ดีว่าถ้าเป็นโชว์เฉย ๆ ของผู้ไปดูงานไม่ควรอยู่ในที่นี้)

บทที่ 4 บริบททางสังคมกับการดำเนินงานของ ...
             เนื้อหาในบทนี้เป็นการเอารายละเอียดของ บทที่ 3 มาตีแผ่ ว่าทำไมเขาถึงทำอย่างที่เราเห็น เพราะอะไรเขาถึงทำแบบนั้น มีปัจจัยในด้านบริบททางสังคมเข้าไปเกี่ยวเข้องอย่างไรหรือไม่ และทำไมเขาถึงไม่ทำตามหลักการที่ว่าไว้ตามที่มีในบทที่ 2 เพราะอะไร มีบริบททางสังคมมาเกี่ยวข้องอย่างไร ถึงไม่ทำแบบั้น (ซึ่งได้ให้นักศึกษาตั้งขอสังเกตไว้ก่อนไปดูงาน และให้ตั้งคำถามระหว่างไปดูงานด้วยแล้ว)
ตรงนี้เป็นตัวชี้วัดถึงความสามารถของนักศึกษาว่าจะมีความคิดในการวิเคราะห์มากน้อยเพียงใด

บทที่ 5 สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
             สรุป เนื้อหาต้องสอดคล้องกับสิ่งที่ตนเองวิเคราะห์ไว้ในบทที่ 4 และ  อภิปรายผล ควรเป็นการนำเอาบทที่ 2 และ บทที่ 3 เข้ามาอธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้น โดยอ้างหลักแนวคิด ทฤษฎี ผลงานวิจัย ว่าเป็นอย่างไร สอดคล้องกับใคร ตรงกับใคร แล้วมีผู้ใดที่ทำวิจัย หรือศึกษาไว้แล้ว สิ่งสำคัญ ขอย้ำ ท่านจะต้องใส่ความรู้ และความคิดเห็นของผู้วิจัย หรือผู้ศึกษาว่าเป็นอย่างไร มันจะเป็นการวัดถึงความรู้ที่ท่านมีอยู่ว่าสามารถมองเห็นอะไรกับสิ่งที่เกิดขึ้น แล้วช่วยอธิบายแบบเป็นเหตุเป็นผลต่อไป

ข้อเสนอแนะ มี 2 อย่าง คือ ส่วนแรก คือ ข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัย เป็นแสดงให้เห็นว่า ผลงานที่ไปศึกษานั้นจะช่วยทำอะไรได้บ้าง แล้วจะบอกอะไรกับใครหรือทำอย่างไรได้บ้างตามประโยชน์ที่เราคิดว่าเป็นไปได้แบบรูปธรรม (คม ชัด เจาะลึก และแคบ) ส่วนที่ 2 คือ ข้อเสนอแนะในการทำการศึกษาต่อไปเพราะหากมีผู้ที่จะศึกษาดูงานต่อหรือวิจัยต่อจะต้องทำอย่างไร ข้อด้อยของงานวิจัยชิ้นนี้ (คือ จุดอ่อน หรือ ข้อจำกัด นะครับ) ไม่ใช่อย่างอื่น ว่าจะต้องทำอย่างไร แล้วควรทำอย่างไรต่อไป



บรรณานุกรม
ภาคผนวก ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ทางสากลนิยม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น